ช่วยให้คุณแม่กระชับและกำจัดน้ำหนักดื้อได้เร็วขึ้น
top of page
275493912_1727318207628274_1858328416719695503_n_edited.jpg

B STRONG

BLOG

ช่วยให้คุณแม่กระชับและกำจัดน้ำหนักดื้อได้เร็วขึ้น

Updated: Dec 22, 2022

คุณแม่หลังคลอดเผชิญกับระดับโกรทฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงและลดลงอย่างมาก บวกกับการพักผ่อนไม่เพียงพอเพราะ มีภาระในหลาย ๆ ด้าน ทำให้ร่างกายทรุดโทรมลงอย่างรวดเร็ว และเนื่องจากระดับโกรทฮอร์โมนตกลงอย่างมาก ทำให้การเผาผลาญไขมันของร่างกายถดถอยลง เหมือนมีไขมันดื้อที่ลดเท่าไหร่ก็ไม่ลงทั้งบริเวณต้นขา หน้าท้อง ต้นแขน


โกรทฮอร์โมน (Growth Hormone)

โกรทฮอร์โมน คือ ฮอร์โมนหลักที่ผลิตจากต่อมใต้สมอง (Pituitary Gland) ทำหน้าที่ควบคุมการเจริญเติบโต การสร้างเซลล์ใหม่ของอวัยวะทุกส่วนของร่างกาย การทำงานของระบบสมอง และการทำงานของเอนไซม์


โกรทฮอร์โมน หรือ GH (Growth Hormones)(1) มีโปรตีนที่มีกรดอะมิโนอยู่มากมายถึง 191 โมเลกุล ในแต่ละช่วงอายุก็จะมีการหลั่งไม่เท่ากัน แต่ฮอร์โมนตัวนี้จะสามารถหลั่งได้ตลอดชีวิต โดยระดับการหลั่งจะหลั่งออกมามากเป็นพิเศษในช่วงวัยเจริญเติบโตหรือวัยเจริญพันธุ์ และเริ่มน้อยลงเรื่อย ๆ ประมาณ 14% ทุก 10 ปี แต่ก็อาจมีปัจจัยอื่นที่สามารถส่งผลกระทบต่อการหลั่งที่น้อยลงของโกรทฮอร์โมน เช่น โภชนาการอาหาร ความเครียด การนอนหลับ การออกกำลังกาย




จากตารางด้านบน จะเห็นว่าปริมาณโกรทฮอร์โมนมีการลดลงเมื่ออายุเพิ่มขึ้น ผลกระทบกับร่างกายคนเราเมื่อปริมาณโกรทฮอร์โมนลดลงอาจมีผลทำให้เกิดสิ่งต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

  • ความอ่อนแอของร่างกาย เนื่องจากการฟื้นตัว และการซ่อมแซมของร่างกายถดถอยลง

  • น้ำหนักเพิ่มขึ้น เพราะการเผาผลาญอาหารและไขมันเริ่มเปลี่ยนแปลงไป

  • ความแก่ชรา ที่อาจพบได้จากอาการผมร่วง ผิวหนังที่แห้งและเหี่ยวย่นขึ้น

  • การลดลงของสมรรถนะของร่างกาย และการเคลื่อนไหวของร่างกายอย่างรวดเร็ว


การเพิ่มโกรทฮอร์โมนจึงเป็น

  1. หนทางในการเพิ่มการเผาผลาญไขมัน เป็นตัวช่วยในการกระชับสัดส่วน

  2. เพิ่มความอ่อนเยาว์ และคืนความกระชุ่มกระชวยให้แก่ร่างกาย จึงจัดเป็นกลุ่ม anti-aging หรือสารชะลอวัย


โกรทฮอร์โมน คือ ฮอร์โมนหลักที่ผลิตจากต่อมใต้สมอง (Pituitary Gland) ทำหน้าที่ควบคุมการเจริญเติบโตและการทำงานของอวัยวะทุกส่วนของร่างกาย การสร้างเซลล์ใหม่ การทำงานของระบบสมอง และการทำงานของเอนไซม์ ตามรูปที่ 1


โกรทฮอร์โมน หรือ GH (Growth Hormones)(1) มีโปรตีนที่มีกรดอะมิโนอยู่มากมายถึง 191 โมเลกุล ในแต่ละช่วงอายุก็จะมีการหลั่งไม่เท่ากัน โดยระดับการหลั่งจะหลั่งออกมามากเป็นพิเศษในช่วงวัยเจริญเติบโตหรือวัยเจริญพันธุ์ และเริ่มน้อยลงเรื่อย ๆ ประมาณ 14% ทุก 10 ปี แต่ก็อาจมีปัจจัยอื่นที่สามารถส่งผลกระทบต่อการหลั่งที่เพิ่มขึ้น หรือน้อยลงของโกรทฮอร์โมน เช่น โภชนาการอาหาร ความเครียด การนอนหลับ การออกกำลังกาย


ด้วยกระบวนการออกกำลังกายที่ (1)


รูปที่ 1 การหลั่งโกรทฮอร์โมนของร่างกาย


การทำงานของโกรทฮอร์โมน

โกรทฮอร์โมนที่ร่างกายหลั่งออกมาจากต๋อมใต้สมอง จะถูกส่งไปยังตับเพื่อเปลี่ยนเป็นสารคล้ายอินซูลิน (Insulin-like growth factor-1 หรือ IGF-1) นำไปใช้ในร่างกายเพื่อเสริมสร้างเนื้อเยื่อ


จากการวิจัยจากวารสารทางการแพทย์นิวอิงแลนด์ (New England) พบว่า การทดลองให้คนอายุ 65 ปี แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ได้รับ HGH และกลุ่มที่ไม่ได้รับ HGH ผลคือ กลุ่มที่ได้รับ HGH ทำให้ผมที่เคยหงอกลดลง ผมเริ่มกลับมาดกดำขึ้น ในบางรายมีการลดลงของรอยเหี่ยวย่นบนใบหน้าและตามร่างกาย อีกทั้งมีสมรรถภาพทางเพศที่เพิ่มขึ้นด้วย ความเสื่อมจากความชราลดลง ส่วนกลุ่มที่ไม่ได้รับ HGH จะมีความชราตามปกติโดยไม่มีการฟื้นฟูที่ดีขึ้น และถ้าเราสามารถทำให้ร่างกายสามารถผลิตโกรทฮอร์โมนออกมาเพิ่มขึ้นได้ด้วยร่างกายของเราเอง ซึ่งทำให้ปลอดภัย และมั่นใจได้ว่าไม่มีสิ่งแปลกปลอมจากภายนอก


ปัญหาที่พบเมื่อร่างกายมีปริมาณโกรทฮอร์โมนที่ลดลง

ผมเริ่มหงอก ร่วง ผิวหนังจะขาดความยืดหยุ่น ไม่ชุ่มชื้น ผิวแห้ง มีริ้วรอยเกิดขึ้น และเริ่มเหี่ยวย่น ระบบการเผาผลาญไขมัน การสร้างกล้ามเนื้อ สมรรถนะทงเพศลดลง ฮอร์โมนต่าง ๆ ในร่างกาย เริ่มเสื่อมถอยลงไป


ประโยชน์ของโกรทฮอร์โมน

  • ช่วยลดไขมันและช่วยลดน้ำหนัก ช่วยเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ

  • มีผลคล้ายยาแก้ซึมเศร้า (Antidepressant) และไม่มีผลข้างเคียง ช่วยลดความเครียด มีสมาธิมากขึ้น ฟื้นฟูความจำ และเพิ่มความสามารถในการเรียนรู้

  • ช่วยเพิ่มความสามารถทางด้านกล้ามเนื้อ ช่วยเสริมกล้ามเนื้อ และเพิ่มความคงทนในการออกกำลังกาย

  • ช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นของผิว ช่วยให้ผิวเรียบเนียนขึ้นเหมือนดังผิวของคนหนุ่มสาว ทั้งยังช่วยเพิ่มความชุ่มชื้น ลดรอยเหี่ยวย่นบนผิวหน้าและตามร่างกาย ลดรอยตีนกา ช่วยฟื้นฟูให้กลับมาหนุ่มสาว

  • มีผลช่วยต้านภาวะกระดูกพรุน และช่วยเพิ่มความหนาแน่นของมวลกระดูก

  • ช่วยกระตุ้นการสูบฉีดเลือดของหัวใจ (Cardiac output) ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจแข็งแรงขึ้น ออกกำลังกายได้มากขึ้น ลดภาวะความดันโลหิตสูง ปรับสมดุลของคอเลสเตอรอล ช่วยบรรเทาอาการของโรคหัวใจ

  • ช่วยให้การหายของบาดแผลเร็วขึ้น เพราะไปช่วยกระตุ้นให้มีการสังเคราะห์คอลลาเจนซึ่งเป็นสารที่ช่วยฟื้นฟูบาดแผล สร้างเนื้อเยื่อให้ประสานกัน เนื้อเยื่อจะแข็งแรงขึ้น ผิวหนังยืดหยุ่นได้ดีช่วยทำให้บาดแผลหายเร็วขึ้น อีกทั้งฟื้นฟูการยึดติดของกระดูกในผู้ป่วยกระดูกหัก ในผู้ป่วยบาดแผลจากไฟไหม้ขั้นรุนแรงและแผลจากการผ่าตัดได้ผลดี แผลหายเร็วขึ้น

โดยปกติโกรทฮอร์โมนจะหลั่งออกมาเฉพาะในตอนที่เราหลับลึกเท่านั้น ช่วงประมาณ สี่ทุ่มจนถึงตีหนึ่งครึ่ง ดังนั้น ถ้าหลับหลังตีหนึ่งเราจะไม่ได้โกรทฮอร์โมนเลย ดังนั้น การหลับที่ถูกต้องคือ หลับตั้งแต่สี่ทุ่มเพราะกว่าจะหลับลึกต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 1 ชั่วโมง และปริมาณโกรทฮอร์โมนจะลดลงหรือถูกสลายไปเมื่อมีน้ำตาลสูง ดังนั้น ก่อนนอนจึงไม่ควรบริโภคอาหารที่มีน้ำตาล หรือคาร์โบไฮเดรต


ดังนั้น ข้อปฏิบัติในการนอนก่อน สี่ทุ่ม จะช่วยให้เราได้โกรทฮอร์โมนได้ แต่ถ้าต้องการเสริมโกรทฮอร์โมนในแบบที่ปลอดภัยจากการออกกำลังกายที่เบา ๆ ก็สามารถปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ B Strong Certified Trainer ติดต่อได้ทาง line id @bstrongthailand


เอกสารอ้างอิง

  1. การเพิ่มโกรทฮอร์โมนด้วยการออกกำลังกายด้วยเทคนิค BFR https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/15959798/

  2. การเพิ่มความกระชับและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อด้วยเทคนิค BFR https://journals.physiology.org/doi/full/10.1152/jappl.2000.88.6.2097



31 views0 comments
bottom of page