คุณแม่หลังคลอดเผชิญกับระดับโกรทฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงและลดลงอย่างมาก บวกกับการพักผ่อนไม่เพียงพอเพราะ มีภาระในหลาย ๆ ด้าน ทำให้ร่างกายทรุดโทรมลงอย่างรวดเร็ว และเนื่องจากระดับโกรทฮอร์โมนตกลงอย่างมาก ทำให้การเผาผลาญไขมันของร่างกายถดถอยลง เหมือนมีไขมันดื้อที่ลดเท่าไหร่ก็ไม่ลงทั้งบริเวณต้นขา หน้าท้อง ต้นแขน
โกรทฮอร์โมน (Growth Hormone)
โกรทฮอร์โมน คือ ฮอร์โมนหลักที่ผลิตจากต่อมใต้สมอง (Pituitary Gland) ทำหน้าที่ควบคุมการเจริญเติบโต การสร้างเซลล์ใหม่ของอวัยวะทุกส่วนของร่างกาย การทำงานของระบบสมอง และการทำงานของเอนไซม์
โกรทฮอร์โมน หรือ GH (Growth Hormones)(1) มีโปรตีนที่มีกรดอะมิโนอยู่มากมายถึง 191 โมเลกุล ในแต่ละช่วงอายุก็จะมีการหลั่งไม่เท่ากัน แต่ฮอร์โมนตัวนี้จะสามารถหลั่งได้ตลอดชีวิต โดยระดับการหลั่งจะหลั่งออกมามากเป็นพิเศษในช่วงวัยเจริญเติบโตหรือวัยเจริญพันธุ์ และเริ่มน้อยลงเรื่อย ๆ ประมาณ 14% ทุก 10 ปี แต่ก็อาจมีปัจจัยอื่นที่สามารถส่งผลกระทบต่อการหลั่งที่น้อยลงของโกรทฮอร์โมน เช่น โภชนาการอาหาร ความเครียด การนอนหลับ การออกกำลังกาย
จากตารางด้านบน จะเห็นว่าปริมาณโกรทฮอร์โมนมีการลดลงเมื่ออายุเพิ่มขึ้น ผลกระทบกับร่างกายคนเราเมื่อปริมาณโกรทฮอร์โมนลดลงอาจมีผลทำให้เกิดสิ่งต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
ความอ่อนแอของร่างกาย เนื่องจากการฟื้นตัว และการซ่อมแซมของร่างกายถดถอยลง
น้ำหนักเพิ่มขึ้น เพราะการเผาผลาญอาหารและไขมันเริ่มเปลี่ยนแปลงไป
ความแก่ชรา ที่อาจพบได้จากอาการผมร่วง ผิวหนังที่แห้งและเหี่ยวย่นขึ้น
การลดลงของสมรรถนะของร่างกาย และการเคลื่อนไหวของร่างกายอย่างรวดเร็ว
การเพิ่มโกรทฮอร์โมนจึงเป็น
หนทางในการเพิ่มการเผาผลาญไขมัน เป็นตัวช่วยในการกระชับสัดส่วน
เพิ่มความอ่อนเยาว์ และคืนความกระชุ่มกระชวยให้แก่ร่างกาย จึงจัดเป็นกลุ่ม anti-aging หรือสารชะลอวัย
โกรทฮอร์โมน คือ ฮอร์โมนหลักที่ผลิตจากต่อมใต้สมอง (Pituitary Gland) ทำหน้าที่ควบคุมการเจริญเติบโตและการทำงานของอวัยวะทุกส่วนของร่างกาย การสร้างเซลล์ใหม่ การทำงานของระบบสมอง และการทำงานของเอนไซม์ ตามรูปที่ 1
โกรทฮอร์โมน หรือ GH (Growth Hormones)(1) มีโปรตีนที่มีกรดอะมิโนอยู่มากมายถึง 191 โมเลกุล ในแต่ละช่วงอายุก็จะมีการหลั่งไม่เท่ากัน โดยระดับการหลั่งจะหลั่งออกมามากเป็นพิเศษในช่วงวัยเจริญเติบโตหรือวัยเจริญพันธุ์ และเริ่มน้อยลงเรื่อย ๆ ประมาณ 14% ทุก 10 ปี แต่ก็อาจมีปัจจัยอื่นที่สามารถส่งผลกระทบต่อการหลั่งที่เพิ่มขึ้น หรือน้อยลงของโกรทฮอร์โมน เช่น โภชนาการอาหาร ความเครียด การนอนหลับ การออกกำลังกาย
ด้วยกระบวนการออกกำลังกายที่ (1)
รูปที่ 1 การหลั่งโกรทฮอร์โมนของร่างกาย
การทำงานของโกรทฮอร์โมน
โกรทฮอร์โมนที่ร่างกายหลั่งออกมาจากต๋อมใต้สมอง จะถูกส่งไปยังตับเพื่อเปลี่ยนเป็นสารคล้ายอินซูลิน (Insulin-like growth factor-1 หรือ IGF-1) นำไปใช้ในร่างกายเพื่อเสริมสร้างเนื้อเยื่อ
จากการวิจัยจากวารสารทางการแพทย์นิวอิงแลนด์ (New England) พบว่า การทดลองให้คนอายุ 65 ปี แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ได้รับ HGH และกลุ่มที่ไม่ได้รับ HGH ผลคือ กลุ่มที่ได้รับ HGH ทำให้ผมที่เคยหงอกลดลง ผมเริ่มกลับมาดกดำขึ้น ในบางรายมีการลดลงของรอยเหี่ยวย่นบนใบหน้าและตามร่างกาย อีกทั้งมีสมรรถภาพทางเพศที่เพิ่มขึ้นด้วย ความเสื่อมจากความชราลดลง ส่วนกลุ่มที่ไม่ได้รับ HGH จะมีความชราตามปกติโดยไม่มีการฟื้นฟูที่ดีขึ้น และถ้าเราสามารถทำให้ร่างกายสามารถผลิตโกรทฮอร์โมนออกมาเพิ่มขึ้นได้ด้วยร่างกายของเราเอง ซึ่งทำให้ปลอดภัย และมั่นใจได้ว่าไม่มีสิ่งแปลกปลอมจากภายนอก
ปัญหาที่พบเมื่อร่างกายมีปริมาณโกรทฮอร์โมนที่ลดลง
ผมเริ่มหงอก ร่วง ผิวหนังจะขาดความยืดหยุ่น ไม่ชุ่มชื้น ผิวแห้ง มีริ้วรอยเกิดขึ้น และเริ่มเหี่ยวย่น ระบบการเผาผลาญไขมัน การสร้างกล้ามเนื้อ สมรรถนะทงเพศลดลง ฮอร์โมนต่าง ๆ ในร่างกาย เริ่มเสื่อมถอยลงไป
ประโยชน์ของโกรทฮอร์โมน
ช่วยลดไขมันและช่วยลดน้ำหนัก ช่วยเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ
มีผลคล้ายยาแก้ซึมเศร้า (Antidepressant) และไม่มีผลข้างเคียง ช่วยลดความเครียด มีสมาธิมากขึ้น ฟื้นฟูความจำ และเพิ่มความสามารถในการเรียนรู้
ช่วยเพิ่มความสามารถทางด้านกล้ามเนื้อ ช่วยเสริมกล้ามเนื้อ และเพิ่มความคงทนในการออกกำลังกาย
ช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นของผิว ช่วยให้ผิวเรียบเนียนขึ้นเหมือนดังผิวของคนหนุ่มสาว ทั้งยังช่วยเพิ่มความชุ่มชื้น ลดรอยเหี่ยวย่นบนผิวหน้าและตามร่างกาย ลดรอยตีนกา ช่วยฟื้นฟูให้กลับมาหนุ่มสาว
มีผลช่วยต้านภาวะกระดูกพรุน และช่วยเพิ่มความหนาแน่นของมวลกระดูก
ช่วยกระตุ้นการสูบฉีดเลือดของหัวใจ (Cardiac output) ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจแข็งแรงขึ้น ออกกำลังกายได้มากขึ้น ลดภาวะความดันโลหิตสูง ปรับสมดุลของคอเลสเตอรอล ช่วยบรรเทาอาการของโรคหัวใจ
ช่วยให้การหายของบาดแผลเร็วขึ้น เพราะไปช่วยกระตุ้นให้มีการสังเคราะห์คอลลาเจนซึ่งเป็นสารที่ช่วยฟื้นฟูบาดแผล สร้างเนื้อเยื่อให้ประสานกัน เนื้อเยื่อจะแข็งแรงขึ้น ผิวหนังยืดหยุ่นได้ดีช่วยทำให้บาดแผลหายเร็วขึ้น อีกทั้งฟื้นฟูการยึดติดของกระดูกในผู้ป่วยกระดูกหัก ในผู้ป่วยบาดแผลจากไฟไหม้ขั้นรุนแรงและแผลจากการผ่าตัดได้ผลดี แผลหายเร็วขึ้น
โดยปกติโกรทฮอร์โมนจะหลั่งออกมาเฉพาะในตอนที่เราหลับลึกเท่านั้น ช่วงประมาณ สี่ทุ่มจนถึงตีหนึ่งครึ่ง ดังนั้น ถ้าหลับหลังตีหนึ่งเราจะไม่ได้โกรทฮอร์โมนเลย ดังนั้น การหลับที่ถูกต้องคือ หลับตั้งแต่สี่ทุ่มเพราะกว่าจะหลับลึกต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 1 ชั่วโมง และปริมาณโกรทฮอร์โมนจะลดลงหรือถูกสลายไปเมื่อมีน้ำตาลสูง ดังนั้น ก่อนนอนจึงไม่ควรบริโภคอาหารที่มีน้ำตาล หรือคาร์โบไฮเดรต
ดังนั้น ข้อปฏิบัติในการนอนก่อน สี่ทุ่ม จะช่วยให้เราได้โกรทฮอร์โมนได้ แต่ถ้าต้องการเสริมโกรทฮอร์โมนในแบบที่ปลอดภัยจากการออกกำลังกายที่เบา ๆ ก็สามารถปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ B Strong Certified Trainer ติดต่อได้ทาง line id @bstrongthailand
เอกสารอ้างอิง
การเพิ่มโกรทฮอร์โมนด้วยการออกกำลังกายด้วยเทคนิค BFR https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/15959798/
การเพิ่มความกระชับและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อด้วยเทคนิค BFR https://journals.physiology.org/doi/full/10.1152/jappl.2000.88.6.2097
Comments